THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

การใช้แบบจำลองแมกซ์เซนประเมินศักยภาพถิ่นที่ขึ้นของไม้สัก (Tectona grandis Linn.f.) ในธรรมชาติพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ติณณ์ วงรินยอง 1, มณฑล นอแสงศรี 2, อิสรีย์ ฮาวปินใจ3, กันตพงศ์ เครือมา 4 และ ต่อลาภ คำโย4*
1สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
2สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
3สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
4สาขาเกษตรป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: torlarp66@yahoo.com
บทคัดย่อ

สักนับเป็นพรรณไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่มีถิ่นการกระจายตามธรรมชาติค่อนข้างจำกัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพถิ่นที่ขึ้นของไม้สักในธรรมชาติพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยการระบุปัจจัยแวดล้อมด้านชีวภูมิอากาศและลักษณะเชิงพื้นที่ ที่มีผลต่อการกระจายของไม้สักในธรรมชาติ โดยนำพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่สำรวจพบไม้สักที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางมากกว่า 700 เมตร จำนวน 20 จุดสำรวจ มาใช้ในการวิเคราะห์ถิ่นอาศัยที่เหมาะสมด้วยแบบจำลองแมกซ์เซน ผลการศึกษาการทดสอบแบบจำลอง พบค่า พื้นที่ใต้โค้ง มีค่าเท่ากับ 0.917 มีความสามารถในการทำนายที่ดีเยี่ยม โดยปัจจัยแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดการกระจายของไม้สัก คือ ความลาดชัน ปริมาณน้ำฝนรายเดือนสูงสุดในช่วงฤดูแล้ง และปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยสูงสุด พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับไม้สักธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนใหญ่อยู่ระดับความเหมาะสมน้อยที่สุด ความเหมาะสมต่ำ ความเหมาะสมปานกลาง และความเหมาะสมสูง คิดเป็นร้อยละ 62.12, 19.80, 9.59 และ 8.49 ตามลำดับ สำหรับระดับความเหมาะสมสูงพบที่อำเภอปางมะผ้า อำเภอปาย อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอขุนยวม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนจัดการปลูกฟื้นฟูไม้สักในพื้นที่เหมาะสมสูงตามธรรมชาติเพื่อเพิ่มเติมประชากรไม้สัก รวมไปจนถึงการวางแผนการป้องกันพื้นที่ที่มีไม้สักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ: แบบจำลองแมกซ์เซน, ถิ่นอาศัย, ไม้สัก, จังหวัดแม่ฮ่องสอน


Download full text (Thai pdf)