THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

การประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT ในการประเมินผลของการใช้ที่ดินต่อปริมาณน้ำท่าบริเวณลุ่มน้ำสาขาแม่ถาง จังหวัดแพร่

สุภัทรา ถึกสถิตย์1, วีนัส ต่วนเครือ1, ขรรค์ชัย ประสานัย2 และ พัชเรศร์ ชคัตตรัยกุล1*
1ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
2ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: fforprc@ku.ac.th
บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่ออุทกวิทยาของดิน ซึ่งดินเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญ เมื่อถูกทำให้เสี่อมโทรมลงจะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำท่าในลำธาร ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาถึงผลของการใช้ที่ดินต่อปริมาณน้ำท่า โดยใช้แบบจำลอง SWAT ซึ่งเป็นแบบจำลองทางอุทกวิทยาในการประเมินปริมาณน้ำท่าบริเวณพื้นที่ตัวแทนลุ่มน้ำเกษตรกรรม ของลุ่มน้ำสาขาแม่ถาง จังหวัดแพร่ โดยจำลอง 2 สถานการณ์ คือ สถานการณ์ที่ 1 กำหนดพื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำที่ 2 เป็นพื้นที่ป่าไม้นอกนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง และสถานการณ์ที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในพื้นที่ชั้นคุณภาพน้ำที่ 2 และ 3 ไปเป็นพื้นที่ป่าไม้และไม้ยืนต้น ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ที่ดินในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำท่าจากทั้ง 2 สถานการณ์จำลอง มีแนวโน้มลดลงในช่วงน้ำหลากและเพิ่มขึ้นในช่วงน้ำแล้ง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่าไม้และไม้ยืนต้นส่งผลให้การคายน้ำของพืชเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันได้ช่วยชะลอการไหลของน้ำผิวดิน ทำให้น้ำมีโอกาสซึมลงสู่ดิน เก็บกักไว้ในดิน และเติมลงสู่ลำธารในช่วงฤดูแล้งได้มากขึ้น

คำสำคัญ: แบบจำลอง SWAT, การใช้ที่ดิน, ปริมาณน้ำท่า, ลุ่มน้ำสาขาแม่ถาง


Download full text (Thai pdf)