THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL
อิทธิพลของแสงผ่านเรือนยอด และความหลากชนิดของไม้ต้นต่อการเติบโตของกาแฟอาราบิก้าภายใต้ร่มเงา บริเวณสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน และสถานีเกษตรที่สูงหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่
กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจเขตร้อนที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมีการปลูกใต้ร่มในระบบวนเกษตรทั่วโลก การปลูกกาแฟอาราบิกาในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมให้มีการปลูกและพัฒนาบนพื้นที่สูง เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศที่หนาวเย็น เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต โดยได้ทำการศึกษาอิทธิพลของความหลากชนิดและปัจจัยแวดล้อมบางประการที่ส่งผลต่อการเติบโตของต้นกาแฟในพื้นที่สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนและสถานีเกษตรที่สูงหนองหอย ด้วยการวางแปลงสำรวจขนาด 30 เมตร x30 เมตร ในพื้นที่แปลงกาแฟใต้เรือนยอดทั้งสองพื้นที่ โดยทำการระบุชนิด และวัดขนาดความโตไม้องค์ประกอบ และวัดขนาดความโต และความสูงของต้นกาแฟ ผลการศึกษาพบว่า ชนิดไม้เด่นที่พบในพื้นที่สถานีฯ ขุนช่างเคี่ยน เป็นชนิดไม้ในป่าดิบเขา เช่น ทะโล้ และก่อเดือย เป็นต้น มีปริมาณแสงส่องผ่านเรือนยอดเฉลี่ยร้อยละ 30.88?11.21 ขณะที่พื้นที่สถานีฯ หนองหอย ชนิดไม้เด่นเป็นไม้ป่าเบญจพรรณผสมป่าดิบเขา เช่น เสี้ยวดอกขาว มะกอกเกลื้อน และทะโล้ เป็นต้น มีปริมาณแสงส่องผ่านเรือนยอดเฉลี่ยร้อยละ 32.01?7.12 การเติบโตของต้นกาแฟในสถานีฯ ขุนช่างเคี่ยนมีความสูงมากกว่าต้นกาแฟในพื้นที่สถานีฯ หนองหอย โดยเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นกาแฟไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยความหลากชนิดที่เพิ่มขึ้น และปริมาณร้อยละแสงผ่านเรือนยอดที่มากขึ้นจะมีผลต่อความสูงของต้นกาแฟที่น้อยลงโดยในการจัดการแปลงวนเกษตรที่ปลูกกาแฟใต้เรือนยอดที่มีการปกคลุมประมาณร้อยละ 30 ยังสามารถทำให้กาแฟเติบโตได้ดีทั้งสองพื้นที่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการคงไว้ของชนิดไม้ต้นในแปลงให้ร่มเงา เพื่อส่งเสริมการเติบโตของกาแฟต่อไป
คำสำคัญ: ปริมาณแสงผ่านเรือนยอด ความหลากชนิดของไม้ต้น การเติบโตของต้นกาแฟอาราบิก้า วนเกษตร