THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

โครงสร้างและพลวัตป่าชายเลน ศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 (สตูล)

ประนอม ชุมเรียง1, นันทิกานต์ ปะดุกา 1 และ ณัฐกาญดา ด้วงอ่อน2*
1ศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 (สตูล) กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จังหวัดสตูล
2ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: nattakarnda.d@ku.th
บทคัดย่อ

ป่าชายเลนนับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความเปราะบางและยากที่จะฟื้นฟูหากถูกรบกวน วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้เพื่อต้องการทราบลักษณะโครงสร้าง พลวัต และการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนภายหลังการฟื้นฟูตามธรรมชาติ บริเวณศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 (สตูล) โดยวางแปลงถาวรแบบแถบ ขนาด 20 x 500 เมตร ในปี พ.ศ. 2556 ติดเบอร์และวัดขนาดต้นไม้ทุกต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกมากกว่า 4.5 เซนติเมตร ทำการติดตามและวัดซ้ำทุก ๆ 2 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2562 ผลการศึกษา พบพรรณไม้ในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 11 ชนิด 6 สกุล 4 วงศ์ มีพื้นที่หน้าตัดและความหนาแน่นเท่ากับ 27.35 ตารางเมตรต่อเเฮกแตร์ และ 1,016 ต้นต่อเเฮกแตร์ ตามลำดับ มีความหลากหลายพรรณพืชค่อนข้างต่ำ (Shannon-Wiener, H/, เท่ากับ 1.39) โดยวงศ์โกงกาง (Rhizophoraceae) มีจำนวนชนิดและความหนาแน่นมากที่สุดคือ 7 ชนิด และ 525 ต้นต่อแฮกแตร์ ตามลำดับ พลวัตป่าชายเลนมีความผันแปรตามช่วงเวลาและชนิดไม้ ความหนาแน่นของไม้ป่าชายเลนมีแนวโน้มลดโดยมีอัตราการตายเฉลี่ยสูงกว่าอัตราการเพิ่มจำนวนเฉลี่ย (0.13?0.22 และ 5.66 ?0.69 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ตามลำดับ) ชนิดไม้ถั่วดำ (Bruguiera parviflora) มีอัตราการตายมากที่สุด ปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินในป่าชายเลนเฉลี่ยเท่ากับ 278?33.62 ตันต่อแฮกแตร์ และมีการกักเก็บคาร์บอนเฉลี่ย เท่ากับ 130.73 ?15.83 ตันคาร์บอนต่อแฮกแตร์ โดยชนิดไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) มีปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินสูงที่สุด (189.22 ตันต่อแฮกแตร์) แสดงให้เห็นว่า โกงกางใบเล็กมีการเจริญเติบโตที่ดีและมีศักยภาพสูงในการคัดเลือกมาใช้ปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ รวมถึงเป็นการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนในป่าชายเลนเพื่อช่วยลดผลกระทบและการปรับตัวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

คำสำคัญ: มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน การกักเก็บคาร์บอน การฟื้นฟูป่าชายเลน


Download full text (Thai pdf)