THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

องค์ประกอบลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืชในพื้นที่ชายขอบป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ บริเวณลุ่มน้ำแม่คำมี จังหวัดแพร่

แหลมไทย อาษานอก และ รุ่งรวี ทวีสุข
1
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: rungrawee.taweesuk63@gmail.com
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบของลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืช ในสังคมพืชชายขอบป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ บริเวณลุ่มน้ำแม่คำมี จังหวัดแพร่ โดยการวางแปลงตัวอย่างขนาด 10 เมตร x 100 เมตร จำนวน 6 แปลง เพื่อเก็บข้อมูลองค์ประกอบชนิดพืชและลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืช เพื่อวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืชในแต่ละสังคม ผลการศึกษา พบว่าชนิดไม้เด่นในพื้นที่ชายขอบป่าเต็งรังแสดงออกถึงลักษณะเชิงหน้าที่แตกต่างจากชนิดไม้เด่นในพื้นที่ชายขอบป่าเบญจพรรณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยชนิดไม้เด่นในสังคมพืชชายขอบป่าเต็งรังแสดงออกถึงองค์ประกอบของลักษณะเชิงหน้าที่ของไม้โตช้า ได้แก่ ค่าสัดส่วนมวลต่อพื้นที่ใบ ความจุของใบ และความหนาแน่นของเนื้อไม้ ส่วนชนิดไม้เด่นในพื้นที่ชายขอบป่าเบญจพรรณแสดงออกทางองค์ประกอบของลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณโตเร็ว ได้แก่ ความหนาของเปลือก และความอิ่มน้ำของเนื้อไม้ ดังนั้น การใช้ลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืชสามารถจำแนกศักยภาพการเติบโตของชนิดไม้ในพื้นที่ชายขอบป่าได้ ดังนั้น การฟื้นฟูป่าควรใช้ลักษณะเชิงหน้าที่ของพรรณพืชในการคัดเลือกชนิดพืชที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกด้วย

คำสำคัญ:


Download full text (Thai pdf)