THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

ปริมาณการสะสมมวลชีวภาพและองค์ประกอบของชนิดของพันธุ์ไม้ในป่าเต็งรัง พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่

ปณิดา กาจีนะ สุนทร คายอง และ ธนานิติ ธิชาญ
1
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: panida.k@cmu.ac.th
บทคัดย่อ

ป่าเต็งรังในภาคเหนือเป็นสังคมพืชพบกระจายได้ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งและดินอุดมสมบูรณ์ต่ำ อัตราการเจริญเติบโตและการสะสมมวลชีวภาพต่ำ เนื่องจากมีปัจจัยแวดล้อมจำกัดและการรบกวนจากไฟป่า ทั้งนี้ป่าเต็งรังยังมีบทบาทสำคัญในการสะสมมวลชีวภาพผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ขณะเดียวกันป่าเต็งรังอาจปลดปล่อยคาร์บอนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดไฟป่า การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการสะสมมวลชีวภาพ และสังคมพืชป่าเต็งรังพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่กวง ด้วยแปลงศึกษาขนาด 40 x 40 เมตร จำนวน 20 แปลง และการจัดลำดับสังคมพืชตามปัจจัยแวดล้อม ผลการศึกษา พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 47 ชนิด 41 สกุล 25 วงศ์ ผลผลิตมวลชีวภาพพันธุ์ไม้ของป่ามีค่าเท่ากับ 80.9?11 Mg ha-1 การแบ่งกลุ่มชนิดพันธุ์ไม้เด่นและการจัดลำดับในสังคมพืช สามารถแบ่งตามชนิดพันธุ์ไม้เด่นเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยพิจารณาจากค่าปริมาณมวลชีวภาพ ได้แก่ กลุ่มสังคมพืชที่มีไม้เต็งเด่น มีชนิดที่มีค่าดัชนีความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เต็ง พลวง รักใหญ่ เหียง และรัง มีค่าปริมาณมวลชีวภาพของกลุ่มเฉลี่ย เท่ากับ 79.6?12.45 Mg ha-1 มีค่าดัชนีความหลากหลายเท่ากับ 2.37 และสังคมพืชที่มีไม้เหียงเด่น มีชนิดที่มีค่าความสำคัญ ได้แก่ เหียง รักใหญ่ เต็ง รัง และ เหมือดหลวง มีปริมาณมวลชีวภาพของกลุ่มเฉลี่ยเท่ากับ 81.31?10.82 Mg ha-1 มีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 2.28

คำสำคัญ:


Download full text (Thai pdf)