THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

พลวัตของสังคมพืชและการกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังผสมสน ในสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

ถวิกา คำใบ จรัญ มากน้อย ปรัชญา ศรีสง่า และ ประทีป ปัญญาดี
1
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: pt.panyadee@gmail.com
บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงสังคมพืช และศึกษาศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพป่าเต็งรังผสมสน บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2560 โดยทำการวางแปลงถาวรขนาด 100 x 100 ตารางเมตร ที่ระดับความสูง 1,040 เมตรจากระดับน้ำทะเล และวัดขนาดต้นไม้ที่ขนาดเส้นรอบวงมากกว่า 14 เซนติเมตรขึ้นไป พบว่า ในรอบ 5 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1 ชนิด ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นจาก 398 เป็น 423 ต้นต่อเฮกแตร์ พื้นที่หน้าตัดเพิ่มขึ้นจาก 22.35 เป็น 23.87 ตารางเมตร และค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Wiener เพิ่มขึ้นจาก 3.06 เป็น 3.08 โดยมีอัตราการเพิ่มพูนร้อยละ 5.75 หรือร้อยละ 1.15 ต่อปี มีอัตราการโตข้ามชั้น ร้อยละ 9.80 และอัตราการตายร้อยละ 3.52 สำหรับการกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังผสมสนในปี พ.ศ. 2560 มีค่าเท่ากับ 81.22 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ โดยมีการกักเก็บอยู่ในส่วนของซากพืช 3.46 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ และอยู่ในมวลชีวภาพ 77.76 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 68.61 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ ในปี พ.ศ. 2555 เท่ากับ 9.15 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ เนื่องจากมีการลักลอบตัดไม้เพื่อเอาเนื้อไม้และน้ำยางไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งประสบภัยจากไฟป่าหลายครั้ง ทำให้ต้นไม้ขนาดเล็กถูกทำลายไป ส่งผลให้มวลชีวภาพของป่าไม้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

คำสำคัญ:


Download full text (Thai pdf)