THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

การประยุกต์ใช้เทคนิคความแปรปรวนร่วมแบบหมุนวนเพื่อประเมินการคายระเหยน้ำรายฤดูกาล ในป่าเต็งรังภาคเหนือ ประเทศไทย

เพ็ญฤดี คำสอน รุ่งนภา แก้วทองราช พิมพ์ศิริ สุวรรณพัฒน์ และ มนตรี แสนวังสี
1
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: montri.sa@up.ac.th
บทคัดย่อ

การคายระเหยน้ำ (Evapotranspiration) เป็นรูปแบบหนึ่งของการไหลเวียนน้ำในระบบนิเวศซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสมดุลน้ำและสมดุลพลังงาน การเข้าใจรูปแบบการคายระเหยน้ำและการประเมินที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ สำหรับใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและป่าต้นน้ำ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการคายระเหยน้ำในพื้นที่ป่าเต็งรัง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำในภาคเหนือของประเทศไทย โดยศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมในปี พ.ศ. 2560 ด้วยเทคนิคความแปรปรวนร่วมแบบหมุนวน (Eddy covariance technique) จากผลการศึกษาพบว่าการคายระเหยน้ำรายปีอยู่ที่ 954.7 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 89.5 ของปริมาณน้ำฝน โดยค่าการคายระเหยน้ำในช่วงฤดูฝนกับฤดูแล้ง คิดเป็นร้อยละ 54 และ 36 ของปริมาณน้ำฝน ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยรายวันในฤดูฝนและฤดูแล้งอยู่ที่ 3.1?0.6 และ 2.1?0.5 มิลลิเมตรต่อวัน ทั้งนี้ความชื้นในดินและปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยหลักที่ควบคุมการคายระเหยน้ำในระบบนิเวศป่าเต็งรัง

คำสำคัญ:


Download full text (Thai pdf)