THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

การเปลี่ยนแปลงการปกคลุมพื้นที่ดินในอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ด้วยการสุ่มแบบเป็นระบบด้วยการสำรวจระยะไกล

ต่อลาภ คำโย และ สุทธิดา สุวรรณวร
1
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: torlarp66@yahoo.com
บทคัดย่อ

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกคลุมพื้นที่ดินในอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง 2558 โดยการสำรวจระยะไกลด้วยภาพถ่ายดาวเทียม Landsat เพื่อการติดตามการเปลี่ยนแปลงการปกคลุมพื้นที่ดิน ในปี พ.ศ. 2543, 2548, 2553 และ 2558 ใช้วิธีการสุ่มแปลงตัวอย่างอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาทั้งหมด 83 แปลงตัวอย่าง (แปลงรูปวงกลมรัศมี 1 กิโลเมตร) แต่ละแปลงตัวอย่างห่างกัน 2 กิโลเมตร ในการจำแนกการปกคลุมพื้นที่ดิน แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ : ระดับที่ 1 พื้นที่ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้หนาแน่นมากกว่าร้อยละ 70 (TC) ระดับที่ 2 พื้นที่ที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ตั้งแต่ ร้อยละ 30 – 70 (TCM) ระดับที่ 3 พื้นที่มีการปกคลุมพื้นที่ด้วยพืชที่มากกว่า ร้อยละ 50 แต่ต้นไม้มีระยะห่างกันมากกว่า 5 เมตร (OWL) ระดับที่ 4 พื้นที่ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตร สิ่งก่อสร้าง พื้นที่โล่ง และพื้นที่หิน (OLC) และระดับที่ 5 แหล่งนํ้า (W) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอำเภอร้องกวางมีการสูญหายพื้นที่ทางธรรมชาติไป 17,100.40 ไร่ และ พื้นที่ TC + OWL จำนวน 145,848.15 ไร่ ระหว่างปี พ. ศ. 2543 ถึงปี 2548 ในช่วงนี้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงปกคลุมด้วยด้วยต้นไม้ลดลง ปีละ 0.22% เนื่องจากมีพื้นที่ที่มีการปลูกพืชเกษตรเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ทางภาคเหนือ และพื้นที่มีอัตราเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2548 ถึงปี 2553 ในอัตรา 0.17% ต่อปี เนื่องจากพื้นที่ทางภาคเหนือมีการลดปลูกพืชเกษตรเพราะราคาพืชเกษตรตกต่ำพื้นที่อำเภอร้องกวางจึงลดการทำการเกษตรปลูกพืชในช่วงเวลานี้ โดยสรุปอำเภอร้องกวางประสบปัญหาทั้งความสูญหายสภาพธรรมชาติ ระหว่างปี 2543 ถึง พ.ศ. 2558 อย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยจากราคาของพืชผลทางการเกษตรเป็นตัวกำหนดการบุกรุกพื้นที่

คำสำคัญ:


Download full text (Thai pdf)