THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

การจัดทำระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศภูเขาในภาคเหนือของประเทศไทยกรณีศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สุระ พัฒนเกียรติ และ ปรัช กองสมบัติ
1
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: prat.kon@mahidol.ac.th
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวม และออกแบบเพื่อสร้างฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศภูเขา ซึ่งแบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) สำรวจรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ในพื้นที่อนุรักษ์ 5 พื้นที่ศึกษา ได้แก่ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอมก๋อย และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย 2) ออกแบบและจัดทำระบบฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ระบบนิเวศภูเขา ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ระบบนิเวศภูเขาจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน มีพื้นที่ทั้งหมด 6,813.44 และ 2,816.94 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 31.84 และ 22.13) ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นสังคมป่าดิบเขา พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 149 ชนิด 56 วงศ์ และพันธุ์ไม้ที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้ 23 ชนิด โดยพันธุ์ไม้ที่มีความสำคัญเป็นไม้สกุลก่อ และสังคมพืชกึ่งอัลไพล์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว พบพันธุ์พืชทั้งหมด 39 ชนิด 25 วงศ์ ความหลากหลายสัตว์ป่า พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 111 ชนิด 29 วงศ์ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 63 ชนิด 7 วงศ์ สัตว์เลื้อยคลาน 89 ชนิด 16 วงศ์ และนก 479 ชนิด 51 วงศ์ ส่วนจุลินทรีย์เห็ด พบทั้งหมด 277 ชนิด 42 วงศ์ และนำผลมาออกแบบและทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจัดสร้างระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเชิงพื้นที่และเชิงบรรยาย ออกแบบข้อมูลภายใต้สิ่งแวดล้อมโปรแกรมฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ให้สามารถแสดงผลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้ ซึ่งสามารถที่จะนำเอาผลการศึกษามาใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นได้

คำสำคัญ:


Download full text (Thai pdf)